29 ธ.ค. 2561, 10:35 น.  89 ครั้ง

1. โรคไวรัสอีโบลาคืออะไร?
โรคไวรัสอีโบลา (เดิมเรียกกันว่าโรคไข้เลือดออกอีโบลา) เป็นโรคที่มักจะรุนแรงถึงชีวิตโดยมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 90 โรคนี้พบในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ลิง กอริลลาและชิมแพนซี
โรค ไวรัสอีโบลาปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดยมีการระบาดเกิดขึ้นสองแห่งในเวลาเดียวกัน แห่งหนึ่งที่หมู่บ้านริมแม่น้ำอีโบลาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และอีกแห่งหนึ่งที่เขตห่างไกลของประเทศซูดาน
ไวรัสนี้มาจากไหนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานเท่าที่มีเชื่อกันว่าค้างคาวผลไม้ (Pteropodidae) น่าจะเป็นแหล่งรังโรคของไวรัสอีโบลา

2. คนเราติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้อย่างไร?
เชื้อ ไวรัสอีโบลาเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้โดยการสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือสารเหลวที่หลั่งจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ในอัฟริกาพบว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นโดยการสัมผัสสัตว์ต่าง ๆ ที่ติดเชื้อคือ ชิมแพนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้ ลิง แอนทิโลปป่า (สัตว์จำพวกที่มีเขาเป็นเกลียว) และเม่น ที่พบว่าป่วยหรือตาย หรืออาศัยอยู่ในป่าฝน (rainforest) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูง (ได้แก่ค้างคาวผลไม้ ลิงหรือลิงเอพ) รวมทั้งต้องไม่เก็บซากสัตว์ที่นอนตายอยู่ในป่า หรือสัมผัสซากสัตว์เหล่านั้น
เชื้อ ไวรัสอีโบลาสามารถแพร่ติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงผ่านรอยแตกที่ผิว หนังหรือเยื่อบุทั้งหลาย เช่น เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุตา เป็นต้น กับเลือดหรือสารเหลว จากร่างกาย หรือสารคัดหลั่ง (อุจจาระปัสสาวะ น้ำลาย น้ำอสุจิ) ของผู้ติดเชื้อ การติดเชื้อยังเกิดขึ้นได้ด้วยถ้าผิวหนังหรือเยื่อบุที่มีรอยแตกของบุคคล สุขภาพดีมาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยสารเหลวที่มีเชื้อไวรัสอีโบ ลาจากผู้ป่วย เช่นเสื้อผ้าเปื้อน ผ้าปูที่นอนเปื้อน หรือเข็มฉีดยาใช้แล้ว
บุคลากร ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อไวรัสนี้เมื่อให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย โดยไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ถุงมือ จึงควรแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลคลินิก และสถานีอนามัย ได้ทราบธรรมชาติของโรคและวิธีการแพร่โรค และให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำเพื่อการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโดยเคร่งครัด
พิธี ฝังศพที่ผู้เข้าร่วมพิธีต้องมีการสัมผัสโดยตรงกับร่างของผู้ตาย พบว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้แพร่โรคได้เช่นกัน ดังนั้นศพของผู้ตายจากโรคไวรัสอีโบลาจะต้องหุ้มห่อด้วยเสื้อผ้าและถุงมือที่ รัดกุม และต้องนำไปฝังทันที
นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถแพร่เชื้อได้ ตราบเท่าที่เลือดและสารคัดหลั่งยังมีเชื้อไวรัสนี้อยู่ ด้วยเหตุนี้ก่อนจะกลับบ้านได้ผู้ติดเชื้อจึงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยบุคลากรทางการแพทย์และรับการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจว่า เชื้อไวรัสหมดไปจากระบบต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว เมื่อแพทย์ระบุว่าผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ แสดงว่าผู้ป่วยพ้นระยะติดต่อแล้วและไม่สามารถแพร่เชื้อไปยังชุมชนของตนได้ พบว่า
ผู้ป่วยเพศชายที่หายจากโรคสามารถแพร่เชื้อให้คู่ของตนผ่านทางน้ำ อสุจิได้เป็นเวลาไม่เกิน 7 สัปดาห์หลังจากหายป่วย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ชายเหล่านั้นควรงดร่วมเพศเป็นเวลาอย่างน้อย 7 สัปดาห์หลังจากหายป่วย หรือมิฉะนั้นต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์ในช่วง 7 สัปดาห์หลังจากหายป่วย

3. ใครเสี่ยงต่อการติดโรคมากที่สุด?
ระหว่างที่โรคกำลังระบาด ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโรคคือ
• บุคลากรทางการแพทย์
• สมาชิกในครอบครัว หรือผู้สัมผัสคลุกคลีกับผู้ติดเชื้อ
• ผู้ร่วมพิธีศพที่ได้สัมผัสร่างกายของผู้ตายโดยตรงตามขั้นตอนในพิธี และ
• พรานในป่าฝนที่ได้สัมผัสซากสัตว์ที่นอนตายในป่า
ซึ่ง ต้องมีการวิจัยต่อไปอีกเพื่อให้ได้องค์ความรู้เพิ่มเติมว่าคนบางกลุ่ม เช่นผู้มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ หรือไม่
การสัมผัสเชื้อไวรัสนี้สามารถควบคุมได้โดยการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันไม่ว่าจะเป็นที่คลินิกโรงพยาบาล ในชุมชน หรือที่บ้าน

4. อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อชนิดนี้มีอะไรบ้าง?
อาการ และอาการแสดง ได้แก่ ไข้เฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ และเจ็บคอจากนั้นจะตามมาด้วยการอาเจียน อุจจาระร่วง ผื่นขึ้น ไตและตับทำงานบกพร่อง และบางรายมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายใน
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำและระดับเอ็นไซม์ตับสูงขึ้น
ระยะ ฟักตัวของโรคหรือระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนถึงเวลาที่เกิดอาการอยู่ ระหว่าง 2 ถึง 21 วันผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะติดต่อในทันทีที่เริ่มมีอาการ ในระยะฟักตัวของโรคผู้ติดเชื้อจะไม่แพร่เชื้อเราสามารถยืนยันโรคติดเชื้อ ไวรัสอีโบลาได้โดยการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น

5. บุคคลควรจะเข้ารับการตรวจรักษาเมื่อใด?
ผู้ ที่เคยอยู่อาศัยในบริเวณที่มีโรคนี้ระบาดอยู่ หรือผู้ที่สัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคนี้ และเมื่อเริ่มมีอาการสงสัยควรเข้ารับการตรวจรักษาทันที
ผู้ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคนี้ควรมีการรายงานไปยังสถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว
การ ดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจากโรคนี้ และที่สำคัญต้องควบคุมการแพร่ระบาดของโรคและควบคุมการติดเชื้ออย่างรวดเร็ว

6. การรักษาโรคนี้ทำอย่างไร?
ผู้ ป่วยที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องรักษาแบบประคับประคองชนิดเข้มข้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดน้ำและจำเป็นต้องให้สารเหลวทางหลอดเลือดดำหรือให้สาร ละลายที่มีเกลือแร่ทางปาก ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคนี้
ผู้ป่วยบางรายจะหายป่วยได้ด้วยการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
เพื่อ ช่วยควบคุมไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดต่อไป ผู้ป่วยสงสัย หรือได้รับการยืนยันแล้วว่าป่วยด้วยโรคนี้ ควรถูกแยกออกจากผู้ป่วยอื่น ๆ และได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์ตามมาตรการควบคุมการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

7. โรคนี้ป้องกันได้หรือไม่?

ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ได้ รับอนุญาตให้ใช้ป้องกันโรคไวรัสอีโบลา มีวัคซีนหลายชนิดที่อยู่ระหว่างการทดสอบแต่ยังไม่มีชนิดใดเลยที่จะนำมาใช้ ทางคลินิกได้

แนวทางที่จะลดการป่วยและตายจากโรคนี้คือการสร้างความ ตระหนักเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคและกำหนดมาตรการที่ประชาชนพึงปฏิบัติเพื่อ ป้องกันตนเองเท่านั้น

วิธีป้องกันการติดเชื้อ

• เข้าใจธรรมชาติของโรค วิธีแพร่โรคและวิธีหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค
• ลดการสัมผัสคลุกคลีกับสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูง (ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ ลิง และลิงเอพ) ในป่าฝนบริเวณที่มีโรค
• ควรบริโภคอาหารโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ต่างๆและเลือดที่ปรุงสุกและสะอาดเสมอ
• ขณะให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย ให้สวมถุงมือและใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
• หลังจากเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ให้ล้างมือเป็นประจำ
• ศพของผู้ตายจากโรคไวรัสอีโบลาควรมีฃอุปกรณ์ห่อหุ้มที่มิดชิด และควรนำไปฝังโดยทันที
 

8. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะป้องกันตนเองจากความเสี่ยงอันตรายของการดูแลผู้ป่วยได้อย่างไร?

บุคลากร ทางการแพทย์ที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยันด้วยโรคนี้ นับเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดโรคมากกว่าคนกลุ่มอื่น ดังนั้นควรป้องกันตนเอง ดังนี้

• นอกเหนือจากการระมัดระวังตามมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยแล้ว บุคลากรควรต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการติดเชื้อตามข้อแนะนำอย่างเคร่ง ครัดเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารเหลวที่ติดเชื้อ หรือสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุที่ปนเปื้อน เช่นเครื่องนอนเปื้อนของผู้ป่วย หรือเข็มฉีดยาใช้แล้ว
• ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่นเสื้อคลุม ถุงมือ หน้ากากและแว่นป้องกันตาหรือกระบังป้องกันใบหน้า
• ชุดป้องกันตนเองหรือเสื้อผ้าที่นำมาใช้ต้องได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
• ควรเปลี่ยนถุงมือทุกครั้งหลังดูแลผู้ป่วยแต่ละรายที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรคอีโบลา
• กระบวนการรักษาโรคที่ต้องเปิดแผลกว้างหรือการให้การดูแลผู้ป่วย (invasive procedures) ซึ่งมีความเสี่ยงที่แพทย์ พยาบาล ต้องสัมผัสเชื้อโรค ควรกระทำอย่างเข้มงวดและคำนึงถึงความปลอดภัย
• ควรแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากผู้ป่วยอื่น ๆ และผู้ที่สุขภาพดีให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


9. จริงหรือไม่ที่เขาลือกันว่าอาหารบางชนิดจะป้องกันหรือรักษาโรคนี้ได้?

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนขอคำแนะนำเกี่ยวกับโรคไวรัสอีโบลาจากกระทรวงสาธารณสุขแต่ละประเทศ

ใน ขณะที่ยังไม่มียารักษาโรคไวรัสอีโบลา การรักษาที่ดีที่สุดคือการรักษาแบบประคับประคองชนิดเข้มข้นภายในโรงพยาบาล โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำตามกระบวนการป้องกันควบคุมการติดเชื้ออย่างเคร่ง ครัด การติดเชื้อนี้สามารถควบคุมได้ผ่านทางมาตรการการป้องกันที่แนะนำไว้


10. องค์การอนามัยโลกจะป้องกันอย่างไรระหว่างที่มีการระบาดของโรค?

องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำทางวิชาการแก่ประเทศและชุมชนต่าง ๆ เพื่อเตรียมการรับมือและตอบโต้การระบาดของโรคไวรัสอีโบลา

องค์การอนามัยโลกได้ดำเนินการ ดังนี้:
• ติดตามการระบาดของโรคผ่านระบบเฝ้าระวังโรคและการใช้สารสนเทศร่วมกันระหว่างภูมิภาค
• ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อสอบสวนและควบคุมภัยสุขภาพทันทีที่เกิดขึ้น เช่นการช่วยค้นหาผู้ป่วยและติดตามสอบสวนโรค ณ ที่เกิดเหตุ
• แนะนำทางเลือกต่าง ๆ ของการป้องกันและรักษาโรค
• จัดวางกำลังผู้เชี่ยวชาญและจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ทางสาธารณสุข (เช่นอุปกรณ์ป้องกันตนเองประจำตัวบุคลากรทางการแพทย์) เมื่อได้รับการร้องขอจากประเทศนั้น ๆ
• สื่อสารเพื่อเพิ่มความตระหนักเรื่องธรรมชาติของโรคและมาตรการการป้องกันสุขภาพเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และ
• กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่พร้อม จะให้ความช่วยเหลือเมื่อมีการร้องขอ และบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
11. ระหว่างเกิดโรคระบาด จำนวนผู้ป่วยที่รายงานโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

ระหว่าง การระบาดของโรคไวรัสอีโบลา กระทรวงสาธารณสุขของประเทศที่มีการระบาดจะทำหน้าที่รายงานจำนวนผู้ป่วยและ ตายในประเทศของตนจำนวนเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้เป็นรายวัน จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งผู้ป่วยสงสัย และผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วทางห้องปฏิบัติการว่าเป็นโรคไวรัสอีโบลา บางครั้งจำนวนของผู้ป่วยสงสัยและผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วอาจถูกรายงานรวมกัน บางครั้งรายงานแยกกัน ดังนั้นจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้จึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

การ วิเคราะห์แนวโน้มตามช่วงเวลาของข้อมูลผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลข่าวสารด้านอื่น ๆ โดยทั่วไปมีส่วนช่วยให้การประเมินสถานการณ์ทางสาธารณสุขและกำหนดวิธีการรับ มือที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


12. การเดินทางระหว่างมีการระบาดของโรคนั้นปลอดภัยหรือไม่ องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำเรื่องการเดินทางว่าอย่างไร?

ระหว่าง การระบาดของโรค องค์การอนามัยโลกจะทบทวนสถานการณ์ทางสาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ และจะออกคำแนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าหากมีความจำเป็นความเสี่ยงของ ผู้เดินทางต่อการติดเชื้อนี้อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก เนื่องจากการแพร่โรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งนั้นจะเกิดขึ้นจากการสัมผัส สารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโดยตรง

คำแนะนำต่อการเดินทางโดยทั่วไปจากองค์การอนามัยโลก

• ผู้เดินทางควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
• บุคลากรทางการแพทย์ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีโรคระบาดควรปฏิบัติตามแนวทาง การป้องกันควบคุมการติดเชื้อที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลกอย่างเคร่งครัด
• ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง
• แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้เดินทางที่เพิ่งกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ด้วยอาการที่เข้ากันได้ขอให้พิจารณาความเป็นไปได้ว่าจะเป็นโรคไวรัสอีโบลา หรือไม่

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) ในแถบแอฟริกาตะวันตก     

 

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

       รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) จากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบในประเทศที่มีการระบาดในวงกว้าง จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน รวมทั้งสิ้น 7,157 ราย เสียชีวิต 3,330 ราย และพบในประเทศที่มีผู้ป่วยรายแรกหรือมีการระบาดในพื้นที่จำกัด จำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ ไนจีเรีย และเซเนกัล รวมทั้งสิ้น 21 ราย เสียชีวิต 8 ราย รายละเอียด ดังนี้
ี้

 

 

 

 

ประเทศ

รายละเอียด

WHO: World Health Organization
ณ 1 ตุลาคม 2557

ประเทศที่มีการระบาดในวงกว้าง

 

 

ประเทศกินี (Guinea)

จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ

1,157

 

จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ

950

 

จำนวนผู้เสียชีวิต

710

ประเทศไลบีเรีย (Liberia)

จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ

3,696

 

จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ

927

 

จำนวนผู้เสียชีวิต

1,998

ประเทศเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone )

จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ

2,304

 

จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ

2,076

 

จำนวนผู้เสียชีวิต

622

ประเทศที่มีผู้ป่วยรายแรกหรือมีการระบาดในพื้นที่จำกัด

ประเทศไนจีเรีย (Nigeria )

จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ

20

 

จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ

19

 

จำนวนผู้เสียชีวิต

8

ประเทศเซเนกัล (Senegal )

จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ

1

 

จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ

1

 

จำนวนผู้เสียชีวิต

0

**ในประเทศไทย ยังไม่เคยพบมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลามาก่อน**

 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมถรรถนะ ครั้งที่ 1...
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรพนักงานกองบิน ๔๑...
งานวันเด็กแห่งชาติ กองบิน ๔๑ พร้อมตารางกิจกรรม...
กองบิน 41 จะทำการเปิดจองพื้นที่จำหน่ายสินค้า งานวันเด็กแห่งชาติกองบิน 41 ประจำปี 2566...
ผลกระทบกรณีการเลื่อนจัดหา F-35...
อัลบั้มรวมภาพพระพุทธศาสดาประชานาถ...